top of page

background

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของคนทำงานในยุค ดิจิทัล เวิร์คเพลส (digital workplace) และ 2) สร้างพื้นที่ทำงานที่ส่งเสริมประสิทธิการทำงานของคนทำงานในยุค ดิจิทัล เวิร์คเพลส  โดยนำเสนอในรูปแบบพื้นที่ทำงาน Co-Working Space  ซึ่งมีที่มาจากสถานการณ์ในปัจจุบันที่พบว่าหลายองค์กรปรับวิธีการทำงานจากในออฟฟิศมาทำงานผ่านหน้าจออิเล็กทรอนิกส์จากที่ใดก็ได้ ผู้คนสนทนาและประชุมงานกันผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์  กิจวัตรประจำวันเปลี่ยนไป  ส่งผลต่อพฤติกรรมและคุณภาพชีวิตที่เปลี่ยนไปอันมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง   การวิจัยนี้ดำเนินการโดยตั้งสมมติฐานเปรียบเทียบการทำงานระหว่างที่บ้าน โฮมออฟฟิศ และสำนักงาน ด้วยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพการทำงาน  ศึกษาผลสำรวจพฤติกรรมและความต้องการของพนักงานหลังเริ่มมีการทำงานแบบ ดิจิทัล เวิร์คเพลส   รวบรวมกรณีศึกษาและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน   ศึกษาแนวโน้มบทบาทของสำนักงานหลังเกิดสถานการณ์โควิด-19   ศึกษาวิวัฒนาการการการออกแบบพื้นที่ทำงานในแต่ละยุคสมัย    ทั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาวิวัฒนาการระบบผังแบบเปิดและแบบปิดล้อมในพื้นที่ทำงานซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็น public และ private อันชี้ให้เห็นถึงกลุ่มคนทำงานที่ต้องการการพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับคนหมู่มากในเชิงกายภาพ และกลุ่มคนทำงานที่ต้องการแยกออกจากคนหมู่มาก เพื่อสร้างสมาธิ การจดจ่ออยู่กับงานมากกว่า    ผลการวิจัยได้เป็นแนวทางการออกแบบพื้นที่ทำงานเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงาน  ด้วยแนวคิด การสร้างพื้นที่ปฏิสัมพันธ์อย่างมีขอบเขตเพื่อเกิดสภาวะส่วนตัว  ซึ่งมีปัจจัยที่ต้องควบคุม คือ การเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในเชิงกายภาพ  และการมีพื้นที่ส่วนตัวหรือสภาวะส่วนตัวในผู้ใช้แต่ละประเภท

///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
tumblr_inline_nq44uvQcyF1r4j8j1_500.gif

Modern Time (1936)

issue

working from home make performance worse ?

หากย้อนไปในยุคอุตสาหกรรมช่วง ปี ค.ศ. 1900 

เป็นยุคอุตสาหกรรม Taylorism หรือยุคการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์

ที่เปรียบองค์กรเป็นโรงงานและพนักงานคือเครื่องจักร 

และในยุคปัจจุบัน ยุคแห่งดิจิทัล เวิร์คเพลส ยุคที่ใครก็สามารถทำงาน

จากที่ใดในโลกก็ได้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าบ้านกลายเป็นเป็นพื้นที่หลัก

ผลสำรวจและประเด็นที่เกิดตามมาก็คือ ผลเสียจากการทำงานที่บ้าน

อาจทำให้เรากลับไปเป็นเครื่องจักรเหมือนในยุค ปี 1900 

คำถามคือ สถานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานอย่างไร และปัจจัยอะไรที่ส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน กับคนทำงานในยุคนี้ ?

การทำงานแบบ WFH หรือ ดิจิทัล เวิร์คเพลส อาจไม่ตอบโจทย์กับทุกคนหรืออาจส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของพนักงาน  เนื่องจากสถานที่ที่ไม่เอื้อต่อการทำงานจะส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตนำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง เช่น ความเครียดที่ส่งผลให้เกิดอาการ burnout หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน ภาวะซึมเศร้า   คุณภาพพื้นที่ภายในบ้านและอุปกรณ์ต่างๆ ไม่เอื้อต่อการทำงาน  การถูกรบกวนจากสมาชิกในบ้าน  ค่าใช้จ่ายที่สูญเสียไปกับค่าไฟฟ้าที่บ้าน เป็นต้น  

issue
สถานที่ทำงานมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพ
ในการทำงานอย่างไร (Place & Effiency)?
Asset%207_edited.png
จากการเปรียบเทียบการทำงาน ด้วยปัจจัยต่างๆ พบว่า การทำงานที่บ้านมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในหลายด้าน เช่น ความเครียด  ขาดการขัดเกลาทางสังคม  ขาดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานและหัวหน้า สับสนเวลากิจวัตรประวำวัน 
ผลการสำรวจสถาบันวิจัย US Workplace Survey 2020 ชี้ว่า
การทำงานที่บ้านส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง แม้ที่ทำงาน
จะให้ทางเลือกในการทำงาน หรือ Workplace แต่คนส่วนมากยัง
ต้องการกลับไปทำงานในออฟฟิศ ด้วยการทำงานที่บ้านไม่สามารถ
ตอบโจทย์ด้านการปฏิสัมพันธ์เชิงกายภาพได้
You too can be Susan
170720_SmartworkingSusan_1_thumb.jpg
การทำงานที่บ้าน หรือ สภาพแวดล้อมที่ไม่รองรับการทำงาน
ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานแย่ลง ?
Pi้cture1.jpg
The workplace is becoming less effective is supporting all work modes.
REF: U.S. Workplace Survey 2020
DirectlyApply ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการทำงาน ร่วมมือกับนักจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญทางด้านฟิตเนส วิเคราะห์ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและร่างกาย เมื่อต้องทำงาน WFH ทุกวันในอีก 25 ปีข้างหน้า
 
theory
theory

นอกจากนี้การทำงานที่บ้านยังทำให้ไม่เกิดการขัดเกลาทางสังคม หรือ ปทัสถานทางสังคม อันเป็นกระบวนการที่สังคมสั่งสอนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้ได้รับการเรียนรู้ กฎเกณฑ์ ความประพฤติ ทัศนคติ และค่านิยมต่างๆ  เป็นสิ่งที่มนุษย์ควรได้รับเพื่อสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่ตนอยู่ได้   โดยการขัดเกลาทางสังคมนั้นจะเกิดได้จากการมีพื้นที่ที่ผู้คนมาปฏิสัมพันธ์กันในสถานที่จริงไม่ใช่เพียงการคุยกันผ่านหน้าจอ    ทฤษฎีที่สนับสนุนเรื่องการเกิดปทัสถานทางสังคมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน คือ กรณีศึกษา Hawthorne Effect ในปี ค.ศ. 1936 จากแนวคิดของ Elton Mayo ที่มีการทำวิจัยหาตัวแปรให้ระบบอุตสาหกรรมเกิดประสิทธิภาพ  ในโรงงาน Hawthorne Plant ของบริษัท Western Electric ในสหรัฐอเมริกา (Elton Mayo, 1936)  พบว่า การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพนักงานโดยเฉพาะการเกิดปทัสถานทางสังคมจะช่วยเพิ่มผลผลิตในการทำงานหรือปฏิบัติงานได้อย่างเต็มศักยภาพ  กรณีศึกษาดังกล่าวยังเป็นต้นแบบการศึกษาเรื่อง Employee Motivation หรือ Theory of Motivation ทฤษฎีที่มองว่ามนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักรอีกด้วย

Asset 1.png
Pictddure1.jpg
ปัจจัยอะไรส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ?
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
history of office design
The factors affecting to promote working efficiency 
โดยสรุป  จากทฤษฎี และการรวบรวมผลสำรวจและข้อมูลการวิจัย  สามารถสรุปได้ว่าปัจจัยที่ส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงาน คือ การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในเชิงกายภาพและการมีพื้นที่ส่วนตัวในที่ทำงาน   โดยจะนำทั้งสองปัจจัยปรับใช้ร่วมกัน ในรูปแบบพื้นที่ทำงาน Co-Working Space เพื่อเพิ่มทางเลือกสำหรับคนทำงานในยุค ดิจิทัล เวิร์คเพลส รองรับกลุ่มคนที่ไม่มีพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำงาน ขาดอุปกรณ์ในการทำงาน หรือองค์กรที่ต้องการลดรายจ่ายจากค่าเช่าอาคารสำนักงานมาเปิดใช้ห้องประชุมหรือพื้นที่ workshop เพียงครั้งคร่าว
history of office design
Picturgge1.jpg
ในยุคที่เริ่มมีอินเทอร์เน็ตเข้ามาและมีการทำงานแบบ ดิจิทัล เวิร์คเพลส  พื้นที่ปฏิสัมพันธ์หรือพื้นที่ทำกิจกรรมส่วนกลางจึงเริ่มถูกให้ความสำคัญมากขึ้น พนักงานไม่ต้องการยึดติดอยู่กับโต๊ะทำงานที่เดิม ต้องการมีอิสระในการเลือกที่นั่งทำงาน และต้องการความเป็นส่วนตัวในขณะเดียวกัน   มีการให้ความสำคัญกับการจัดระบบผัง ทั้งแบบเปิดโล่งเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และผังแบบระบบปิดล้อมเพื่อสร้างพื้นที่ส่วนตัวและสมาธิ  ตัวอย่างบริษัทที่ใช้ระบบผังแบบเปิดโล่ง อาทิ บริษัท Facebook  บริษัท R/GA  บริษัท Airbnb  บริษัท TBWA ที่ LA  เป็นต้น
แนวคิดการมีพื้นที่ปฏิสัมพันธ์อย่างผังแบบเปิด (open plan)  หรือแนวคิดการมีพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่แบบปิด ทั้งสองแนวคิดนั้นมีความสำคัญและควรปรับใช้เข้าด้วยกัน โดยคำนึงตามประเภทผู้ใช้หรือลักษณะการทำงาน การทำงานที่แม้ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ มีการทำงานเป็นทีม แต่ก็ต้องมีพื้นที่ส่วนตัวรองรับผู้ใช้งานที่ต้องการสมาธิเช่นกัน  อาทิ สำนักงาน Pixar ที่มีลักษณะการทำงานด้านการใช้ความคิดสร้างสรรค์ แต่ผู้ออกแบบอย่าง Steve Jobs ไม่เลือกใช้ open plan อย่าง บริษัท Facebook เพราะเขาต้องการตัดปัญหาเรื่องการถูกรบกวนหรือเสียสมาธิ แต่เลือกจะให้มีพื้นที่ทำกิจกรรมอื่นนอกเหนือพื้นที่ทำงานในการรองรับการสร้างมนุษยสัมพันธ์และการขัดเกลาทางสังคมแทน เป็นต้น 
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
factors

w  o  r  k  p  l  a  c  e

bottom of page